วิธีการเล่น

(ที่มาภาพ: http://www.google.co.th/imgres?imgurl )

  1. ก่อนการเล่นจะมีการบรรเลงดนตรีเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนดู

   2. ผู้เล่นทั้ง 2 คน จะแต่งการโดยสวมเสื้อคอกลมหรือคอตั้ง นุ่งกางเกงขายาว แล้วสวมโสร่งทับกางเกง มีผ้าลือปักหรือคาดเข็มขัดคาดเอว โพกศีรษะสีสันอาจแตกต่างกันตามความนิยม เมื่อแต่งกายเรียบร้อยแล้ว จะไปยืนอยู่คนละฝั่งของสนาม แล้วเดินเข้ามาทำความเคารพกัน เรียกว่า “สลามมัด” คือ ต่างฝ่ายต่างสัมผัสมือกัน แล้วมาแตะที่หน้าผาก

    3. ก่อนการเล่นจะมีพิธีไหว้ครู โดยผู้เล่นจะผลัดกันร่ายรำตามรูปแบบต่างๆ ขณะร่ายรำท่าไหว้ครู ผู้เล่นจะว่าคาถาประกอบด้วยภาษาอาหรับ เพื่อขอพร 4 ประการ คือ ขอให้ปลอดภัยจากการต่อสู้ ขออโหสิให้คู่ต่อสู้ ขอให้เพื่อนบ้านรัก และขอให้ผู้ชมสนใจ

    4. เมื่อไหว้ครูเสร็จ ดนตรีก็จะบรรเลงจังหวะเร้าใจ ทั้งคู่ก็จะเดินเข้าต่อสู้กัน โดยใช้มือตี ฟาด ฟัน ผลักหรือแทง ใช้เท้าแตะหรือปัดจับกันดึงดันหาโอกาสทุ่ม หรือผลักให้ฝ่ายตรงข้ามล้มลง หรือปล้ำกอดรัดให้แก้ไม่ออก

    5. การเล่นต้องผลัดกันเป็นฝ่ายรุกและฝ่ายรับคนละ 4 ครั้ง การแสดงเป็นฝ่ายรุกจะต้องแสดงท่ารุกต่างๆ ให้ฝ่ายตรงข้ามแพ้ ขณะเดียวกันฝ่ายรับก็จะต้องปัดป้องมิให้ฝ่ายรุกทำอะไรตัวเอง ปัจจุบันนิยมเล่นกันเป็นยกๆ

    6. การตัดสินผลแพ้ชนะ

                 6.1 ฝ่ายใดล้มมากกว่าเป็นฝ่ายแพ้

                 6.2 ฝ่ายใดถูกปล้ำจนแก้ไม่ออกถือเป็นฝ่ายแพ้

                 6.3 ฝ่ายใดสู้ไม่ได้ขอยอมแพ้ถือเป็นฝ่ายแพ้

 

ที่มา : ซีละ. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://thaifolksport.wordpress.com/2010/07/19/%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B0/ .

สืบค้นวันที่ 28 มกราคม 2556.

 

 

งานเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์